วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ออกแบบและพัฒนาเว็บ(1/11/08)

1.Tag ที่ใช้ในการ เปิด-ปิด
2.Method มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
3. input type มีกี่ชนิด อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
4.attribute ของ type
5.ปุ่ม มี type อะไรบ้าง


1.Tag เปิด/ปิด เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash ( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น , เป็นต้น
2. METHOD คือ วิธีในการส่งข้อมูลไปยังเครื่อง Server
มี2ชนิด คือ
2.1Get คือ การส่งข้อมูลไปให้กับ Web server ทีเดียวทั้งหมด
2.2Post คือ การส่งข้อมูลไปให้กับ Web server ทีละบรรทัด

แบบทดสอบเรื่อง OSI model (2/11/08การสื่อสารและเครือข่ายฯ)

แบบทดสอบ1. แบบจำลอง OSI จะแบ่งการทำงานของระบบเครือข่ายออกเป็นกี่ชั้น
ก. 4 ชั้น
ข. 5 ชั้น
ค. 6 ชั้น
ง. 7 ชั้น

2. Layer ชั้นใดที่ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้
ก. Application Layer
ข. Presentation Layer
ค. Transport Layer
ง. Network Layer

3. OSI Model พัฒนาโดย International Organization for Standardization (ISO) ในปีใด
ก. ปี 1983
ข. ปี 1984
ค. ปี 1985
ง. ปี 1986

4. ชั้นใดเป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง
ก. Physical Layer
ข. Network Layer
ค. Datalink Layer
ง. Transport Layer

5. Frame เป็นหน่วยของข้อมูลในระดับใด
ก. Application Layer
ข. Transport Layer
ค. Network Layer
ง. Datalink Layer

เฉลยแบบทดสอบ1. ง.2. ก.3. ข.4. ค.5. ง.
ที่มา http://support.mof.go.th/lan/osi.htmhttp://www.udonoa.com/www-tam/Knowledge/OSImodel.html

Moodle (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
Moodle เป็นชุดโปรแกรมสำหรับ ช่วยผู้สอน สร้างหลักสูตร และเปิดสอนบนเว็บไซต์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ
ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas โปรแกรมชุดนี้เป็น Open source ภายใต้ข้อตกลงของ GNU.ORG(General public license) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org/mod/resource/view.php?id=8 สำหรับผู้ดูแลระบบ(Admin) ที่จะนำโปรแกรมไปติดตั้ง ต้องมี web server ที่บริการ php และ mysql

ความสามารถของ moodle โดยสรุป
1. เป็น open source ที่ได้รับการยอมรับ (ทั่วโลกใช้ 1216 เว็บไซต์ และในไทยใช้ 34 เว็บไซต์) ตัวนี้ฟรี สถาบันส่วนใหญ่ตัวใครตัวมัน ซื้อบ้าง พัฒนาเองบ้าง ไม่อยู่ใน vision ก็มี ในอนาคตอาจหันมาใช้ตัวนี้กันหมดก็ได้
2. สามารถเป็นทั้ง CMS(Course management system) และ LMS(Learning management system) ช่วยสร้างเนื้อหาโดยอาจารย์ และบริการให้นักเรียนเข้ามาเรียน สถาบันหลายแห่งมีเฉพาะ LMS แต่ไม่มี CMS ให้อาจารย์ครับ
3. สามารถ นำเอกสารที่ทำไว้เพิ่มเข้าไปได้ เช่น word, power point, excel, webpage, pdf หรือ image เป็นต้น ใจกว้าง เคยพัฒนาด้วย ppt แล้วก็นำใช้ได้เลย อย่างของผมพัฒนา thaiall.com/os ก็นำมาใช้ใน moodle ได้สมบูรณ์
4. มี ระบบติดต่อสื่อสารกับนักเรียน หรือระหว่างครูด้วยกัน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบonline ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้
5. มี ระบบแบบทดสอบ และรับการบ้าน สามารถตรวจการบ้าน และให้คะแนนโดยอัตโนมัติ ให้ส่งงาน หรือให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนเก็บได้เลย export ไป excel ก็ทำได้
6. สามารถ เก็บงานทั้งหมดที่อาจารย์ลงแรงทำไปเป็น .zip แฟ้มเดียว อนาคตสามารถนำไปติดตั้งเครื่องที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ โดยใช้การบีบอัดไฟล์ .zip ใครจะนำไปติดตั้ง server หรือสถาบันไหนก็ได้ .. เพื่อการศึกษา
7. ผู้บริหารที่มี vision ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ อาจารย์ได้ผลงาน นักศึกษาได้เรียนรู้ และสถาบันได้รับการพัฒนา อาจารย์เตรียมสอนครั้งเดียวสบาย นักเรียนเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้ามาทบทวนก็ได้ คนไทยด้วยกันเข้ามาหาความรู้ก็ทำได้
Moodle ทำอะไรได้บ้าง
1. การใช้ moodle ในสถาบัน จำเป็นต้องมี
1. มี อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ LAN
2. มี web browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งอาจารย์ และนักศึกษา
3. มี web server ให้บริการ และมีความสามารถของ php + mysql เป็นต้น
4. มี ผู้ติดตั้ง และบำรุงรักษา ต้องทำโดยนักคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเขียนเว็บ เพราะการติดตั้งไม่ง่ายเลย
5. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยี ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือคนเฒ่าใกล้ retire
2. ย้ำอีกครั้งว่า โปรแกรมนี้ ช่วยผู้สอนสร้างหลักสูตร และเปิดสอนบนเว็บไซต์
3. ทั่วโลกใช้ 1216 เว็บไซต์ และในประเทศไทยมี 34 เว็บไซต์ (18 เมษายน 2547 จาก http://moodle.org/sites/)
4. ผู้เข้าใช้ระบบมีบุคคล 4 ประเภท เพราะท่านควรเข้าใจ บทบาท และหน้าที่ของตน
ผู้ดูแล(admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน ผู้สอน(teacher) : เพิ่มเนื้อหา เพิ่มข้อสอบ ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน ผู้เรียน(student) : เข้าเรียนหัวข้อต่าง ๆ ทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้มาเยี่ยม(guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และไม่มีสิทธิ์ทำแบบทดสอบใด ๆ
5. ผู้สอนสามารถเพิ่มสิ่งต่อไปนี้ ในแต่ละบทเรียน หรือสัปดาห์
0. Chat (ห้องสนทนา พูดคุยกันได้)
1. Glossary (รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ได้ยอดเยี่ยม สามารถสืบค้นได้)
2. Label (เหมือนป้ายประกาศ ไม่สามารถ click ได้ แจ้งให้ทราบก็จบตรงนั้น)
3. Lesson (บทเรียนให้พิมพ์แยก page title, page contents, answer และ response)
4. กระดานเสาวนา (กระดานข่าว หรือ webboard)
5. การบ้าน (ให้พิมพ์งานใส่ word มา upload ได้)
6. ตัวเลือก (คือการ vote จากคำถาม 1 ข้อ และมีตัวเลือกให้)
7. วารสาร (ให้นักเรียนเข้ามาเขียนวารสาร และมีคะแนนให้ ตามหัวเรื่อง)
8. สัมมนา (เน้นกิจกรรม และองค์ประกอบต่าง ๆ หลายเรื่อง)
9. แบบทดสอบ (สร้างคลังข้อสอบเป็น 1000 ข้อ แล้วเลือกมาให้ทำ 100 ข้อ ระบบจะสุ่มให้นักศึกษาทำอัตโนมัติ)
10. แบบสำรวจ (essay หรือ choice)
11. แหล่งข้อมูล (text, html, upload, weblink, webpage หรือ program)
6. กิจกรรมของผู้สอน
0. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
1. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
2. รอผู้ดูแลกำหนดสิทธิ์ในการเป็นผู้สอน หรือผู้สร้างคอร์ส
3. ผู้สอนสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
4. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
5. ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6. สามารถสำรองข้อมูลทั้งหมดที่เคยใส่เข้าไปใน server เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
7. สามารถนำข้อมูลที่สำรองกลับมากู้คืนที่ server เครื่องเดิม หรือเครื่องใหม่
8. สามารถ download คะแนนนักเรียนจากการทำกิจกรรม ไปใช้ใน excel ได้โดยง่าย
9. กำหนดกลุ่มให้กับนักเรียน เป็นกลุ่ม เป็นห้อง เป็นชั้นปี เพื่อสะดวกในการคิดเกรด คะแนน หรือสื่อสาร เป็นต้น
10. อ่านประวัตินักเรียนในชั้น
11. สั่งยกเลิกการเป็นสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าผิดวิชา
12. ดูกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถีในการอ่านแต่ละบท หรือคะแนนในการสอบแต่ละบท เป็นต้น
13. ดูผลการทำแบบทดสอบของนักเรียนทุกคน หรือยกเลิกการทำข้อสอบในบางครั้ง ของนักเรียนบางคนได้
7. กิจกรรมของผู้เรียน
0. สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
1. รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
2. อ่านเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผู้สอนกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
3. ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหว่างเพื่อน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน เป็นต้น
5. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
6. อ่านประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม
ข้อมูลจาก
http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm

PHP-Nuke (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

PHP-Nuke เป็นระบบจัดการข่าวสารอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า ระบบการจัดการเนื้อหา (CMS) โดย PHP-Nuke สร้างมาจากข้อมูลพื้นฐานระหว่างภาษาพีเอชพี ร่วมกับระบบฐานข้อมูล MySQL โดยผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ชุดนี้อยู่ภายใต้ของลิขสิทธิ์ GNU General Public License คือสามารถนำไปแก้ไขดัดแปลงได้ โดยที่จะยังคงชื่อ และส่วนต่างๆของ ข้อมูลอยู่โดยครบและไม่มีการซื้อขายใดๆทั้งสิ้น ต่อมา PHP-Nukeได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชัน 7.5 และได้มีการเก็บค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวน USD $10 เนื่องจากว่าบางซอร์สโค้ด บางส่วนนั้น ได้มีการพัฒนาซึ่งยากต่อทีมพัฒนาจึงได้มีการเก็บค่าใช้จ่าย และได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย
http://th.wikipedia.org/wiki/PHP-Nuke

Joomla (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

จูมลา! (Joomla!) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บแบบโอเพนซอร์ส ที่เขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช้ฐานข้อมูล MySQL เวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2005 รุ่นล่าสุดคือ 1.0.12
ทีมงานพัฒนาจูมลา! แยกตัวออกมาจากการพัฒนา แมมโบ ซึ่งเป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกับบริษัท Miro Corporation ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักและเจ้าของเครื่องหมายการค้า Mambo เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005
ทางจูมลา! ได้สร้างเว็บไซต์ OpensourceMatters ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดูแลจูมลา!
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2!

JSP (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

เจเอสพี (JavaServer Pages: JSP) เป็นเทคโนโลยี จาวา ที่เปิดช่องทางให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้าง HTML, XML หรือไฟล์เอกสารในประเภทนี้ ตามความต้องการของเครื่องลูกข่ายร้องขอ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เปิดให้ใช้ ภาษาจาวา ในการสร้างและกรทำการใดๆ เพื่อให้หน้าเพจธรรมดา กลายเป็น หน้าเพจที่สามารถตอบสนองได้ โดยเจเอสพีจะถูกโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนเจเอสพี เช่น อะแพชี ทอมแคต แปลให้เป็น จาวา คลาส ที่เรียกว่า เซิร์ฟเลต ซึ่งพร้อมที่จะประมวลผลด้วย จาวา และแสดงผลออกเป็น HTML
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%B5

ASP (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

เอเอสพี (ASP ย่อมาจาก Active Server Page) เป็นเทคโนโลยีประเภท Server-Side Script (โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่อง Server) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย สร้างโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งใช้ร่วมกับโปรแกรม Internet Infomation Service หรือ IIS. ASP นั้นใช้ภาษาสคริปต์ VBScript, JScript หรือ PerlScript ในการเขียน โดยเว็บเพจที่ใช้ ASP เขียน จะระบุเป็นตระกูลไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .asp ซึ่ง ASP ยังสามารถใช้เขียนเพื่อควบคุมฐานข้อมูลต่างๆ ผ่าน ODBC ADO DAO JET และอื่นๆ
ปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกการพัฒนาเทคโนโลยี ASP แล้วและได้เปลี่ยนเป็น ASP.NET แทน. ซึ่งคำว่า Classic ASP นั้นอาจใช้เรียกแทนเอเอสพีเดิม
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%B5

PHP (การออกแบบและพัฒนาเว็บ)

ภาษาพีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B5